SEO คืออะไร ย่อมาจากคำว่า “Search Engine Optimization” หมายถึง วิธีการที่ทำให้เว็บไซต์ ปรากฏอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดของผลการค้นหาผ่าน Search Engine ด้วย Search Keyword ที่เกี่ยวข้องกับ ธุรกิจ ข้อมูล เนื้อหา บทความ สินค้า และบริการ ที่นำเสนอผ่านเว็บไซต์ของเรา โดยรักษาให้อยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดเสมอ (ปกติจะพยายามทำให้อยู่ในหน้าแรกของ Google )
ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาสาระอันอัดแน่นเกี่ยวกับ SEO เราจะขอนำความหมายของคำศัพท์เฉพาะต่างๆ มาให้คุณได้ทำความรู้จักเพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจในเนื้อหาทั้งหมดต่อไป
- Search Engine = เครื่องมือในการค้นหา เช่น Google, Yahoo, Bing
- Ranking = การจัดอันดับหน้าเว็บไซต์เมื่อค้นหา
- Blog = บทความที่ถูกเขียนเพื่อจุดประสงค์ในการให้ความรู้ แสดงความคิดเห็น ความสนุก ไม่มีการแฝงโฆษณา และสรุปประเด็นจบใน 1 บทความ
- Onsite = ข้อความหรือรายละเอียดที่ปรากฎบนหน้าเว็บไซต์ เช่น ข้อมูลสินค้า ข้อมูลบริการ รายละเอียดบริษัท ฯลฯ
- SEO Outreach = บทความที่ถูกส่งไปเพื่อลงในเว็บไซต์อื่นๆ ที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของตัวเอง ซึ่งจะมีการใส่ลิงก์และKeywordลงไปเพื่อให้คุณคลิกแล้วกลับเข้ามาที่หน้าเว็บไซต์ของเจ้าของบทความ
- Optimise = การจัดการดูแลจุดประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
- Keyword = คำที่ใช้ในการค้นหา
- Search Volume = จำนวนการค้นหาคำ Keyword นั้นๆ ว่ามีการค้นหาทั้งหมดกี่ครั้ง
- Anchor Link = ลิงก์ที่ถูกใส่เอาไว้ในคำที่เป็น Keyword ต่างๆ จุดประสงค์เพื่อขยายความหมาย ข้อมูล ของคำๆ นั้น โดยที่ไม่ต้องแทรกเข้าไปในบทความ
- Content = คำโดยรวมที่ใช้สำหรับเรียกแทนเนื้อหา โดยนับรวมทั้ง ตัวหนังสือ ภาพ และองค์ประกอบอื่นๆ เช่น Blog Content, Outreach Content ฯลฯ ก็หมายถึง ประเด็นที่เขียน เนื้อหา รวมถึงภาพ วิดีโอ ทุกสิ่งที่ใส่เข้าไปในบทความนั้นๆ
- Backlink = ลิงก์ที่ถูกใส่ไปกับคอนเทนต์ หรือถูกแฝงอยู่ในตำแหน่งต่างๆ ของเว็บภายนอก โดยมีการตั้งเป้าให้ลิงก์กลับมาที่เว็บไซต์ของเรา (เอาไว้ใส่ใน Outreach คอนเทนต์)
- Organic = ในที่นี้คือ การกระทำทางด้านการตลาดที่ไม่ผ่านการซื้อโฆษณา
SEO คืออะไร สำคัญอย่างไร ทำไมต้องทำ SEO
เพราะโดยส่วนใหญ่ การเข้าชมเว็บไซต์มักจะเริ่มมาจากการค้นหาผ่านแพลตฟอร์ม Search Engine ต่างๆ (ไม่ค่อยมีใครเข้าเว็บไซต์โดยตรง) แม้ว่าปัจจุบัน Social Media สามารถดึงคนเข้าสู่เว็บไซต์ได้เช่นกัน แต่ Search Engine ก็ยังเป็นช่องทางหลักสำหรับเว็บไซต์
ที่การเสิร์ชสำคัญอย่างมากก็เพราะ เครื่องมือค้นหาเหล่านี้สามารถมอบการเข้าถึงที่เฉพาะกลุ่ม เข้าใจง่ายๆ ก็คือคนที่เข้าเว็บไซต์คุณจากการค้นหานั้น เขาจะต้องมีความสนใจที่จะค้นหาข้อมูลหรือซื้อสินค้าหรือบริการอยู่ก่อนแล้ว ถึงค้นหาคำต่างๆ แล้วคลิกสู่เว็บไซต์ของคุณได้ ต่างจากการทำโฆษณาที่คนอาจจะเข้ามาเพียงเพราะพวกเขาเป็นกลุ่มเป้าหมายที่เราตั้งเอาไว้
แน่นอนว่าถ้าเครื่องมือค้นหาเหล่านี้ ไม่สามารถค้นหาเว็บไซต์ หรือแม้แต่เก็บข้อมูลหน้าเว็บของคุณเข้า ฐานข้อมูลได้ รับรองว่าคุณจะต้องพลาดโอกาสดีๆ ในการที่คนทั่วโลกจะเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณและคงไม่ต้องถามถึงการทำธุรกิจเลยว่าจะเป็นอย่างไร
ทำไมต้องทำ SEO ?
การทำ SEO ต้องอาศัยทั้งทักษะและประสบการณ์มากมาย กับกฎเกณฑ์ที่ไม่ตายตัวของแต่ละ Search Engine อีกด้วย ถามว่าทำไมเราต้องทำ SEO ด้วย จะขอตอบแบบที่เข้าใจกันง่าย ๆ เพื่อจะได้เข้าใจตรงกันตามประเด็นนี้มากขึ้น
- เพื่อให้เว็บไซต์ของเราได้รับการจัดลำดับ ในอันดับที่ดีขึ้น ( ยิ่งเป็นอันดับที่ 1 ใน Keyword นั้น ๆ ด้วยยิ่ง ดี ทำให้เป็นเว็บไซต์เราเป็นที่รู้จักมากขึ้น )
- เพื่อให้มีคนได้มีโอกาสเข้าเว็บเรามากขึ้นโดยการคลิกที่ลิงก์จากการค้นหาผ่าน Search Engine
- เพื่อเป็นการประหยัดค่าโฆษณาเว็บไซต์ของเรา ที่ไปติดโฆษณาในที่ต่าง ๆ
- เพื่อทำให้เว็บไซต์เราสามารถขายสินค้าและบริการได้มากขึ้น ( อันนี้เหมาะกับเว็บ e-Commerce และ e- Marketing ต่าง ๆ )
- เพราะการค้นหาข้อมูลผ่าน Search Engine มีคนใช้ถึง 81% เราต้องทำให้คนรู้จักเราให้ได้มากที่สุด
- การทำ SEO เป็นการประหยัดเวลาระยะยาว ( แต่ใช้เวลาทำนานไม่น้อยกว่า 6 เดือน )
- ถ้าเราติดลำดับต้น ๆ ในหน้าแรกแล้วจะทำให้เกิดการคลิกและเข้าเว็บเรามากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- เพื่อเป็นการพัฒนาเว็บไซต์ เพื่อให้เกิดการใช้งานโดยผู้ใช้ ไม่ใช่แค่เรากับเพื่อนเรา
จะเห็นได้ว่าการทำ SEO นั้นมีผลดีต่อการพัฒนาเว็บไซต์ ถึงแม้จะใช้เวลาในการพัฒนานานก็ตาม แต่ผลตามมาคุ้มค่ามาก เพราะหากเราได้รับการ Index ในหน้าแรกของการค้นหาผ่าน Search Engine แล้วผลดีดีต่าง ๆ จะตามมาอีกมากมาย
อีกอย่างหนึ่งของการทำ SEO นั้นมีผลดีในระยะยาว ถ้าเราติดลำดับในหน้าแรกหรือหน้าที่สองแล้ว พยายามรักษาลำดับนั้น ๆ ให้ได้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะนั่นคือ ลำดับที่ดีที่สุดสำหรับเว็บของเรา
เป็นอย่างไรกันบ้างกับเคล็ดลับเล็กๆน้อยๆกับ การตั้งชื่อโดเมนเนม หากสนใจเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการตลาดออนไลน์ คลิ๊ก >> รับทำการตลาด
ติดตาม : การตลาดออนไลน์