การตั้งชื่อโดเมนเนม ใน GOOGLE ให้ติดอันดับง่ายนิดเดียว

การตั้งชื่อโดเมนเนม เป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญที่สุดในการสร้างแบรนด์หรือธุรกิจ มันก็เหมือนชื่อคน มักเป็นสิ่งแรกที่ผู้คนเห็น และอาจส่งผลต่อความประทับใจต่อเว็บไซต์ และแบรนด์ ชื่อที่เลือกมาอย่างรอบคอบอาจเพิ่มความสนใจของผู้ใช้และเพิ่มการเข้าชมเว็บ

การเลือกชื่อ โดเมนเนม ไม่ใช่เรื่องที่ซับซ้อนและ Google จะจดจำความน่าเชื่อถือของคุณจากชื่อนี้ วันนี้มีเคล็ดลับในการเลือกชื่อที่จะสะท้อนและส่งเสริมแบรนด์ของคุณมีดังต่อไปนี้

ความยาว ตั้งชื่อ โดเมนเนม ให้สั้นและจำง่าย ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้มีแนวโน้มที่จะค้นพบคุณมากขึ้น ชื่อที่มีจำนวนคำน้อยยังโดดเด่นกว่าอีกด้วย ซึ่งเราขอแนะนำให้มีคำไม่เกิน 2-3 คำ

คีย์เวิร์ด คำที่เกี่ยวข้องจะช่วยให้ผู้ใช้พบคุณในการค้นหาและจำธุรกิจของคุณได้ในทันที คีย์เวิร์ดอาจมีสิ่งที่คุณทำหรือนำเสนอ (เช่น “รับทำการตลาดออนไลน์ ครบวงจร”) หรือแม้แต่สถานที่ตั้ง การใส่สถานที่ตั้งในชื่อโดเมนอาจช่วยกำหนดเป้าหมายไปยังลูกค้าและผู้ใช้ในพื้นที่ได้

ชื่อแบรนด์ แบรนด์ก็ควรแสดงถึงชื่อ โดเมนเนม เช่นกัน การพัฒนาแบรนด์ต้องใช้เวลา การใส่ชื่อแบรนด์ที่เป็นเอกลักษณ์ไว้ในโดเมนจึงช่วยให้แบรนด์โดดเด่น สร้างการรับรู้ และเพิ่มการเข้าชมเว็บไซต์ได้

ชื่อเว็บไซต์ แน่นอนว่าชื่อ โดเมนเนม ควรเป็นชื่อเดียวกับชื่อแบรนด์ หรือใกล้เคียงกันที่สุด เพื่อไม่ให้ลูกค้าสับสนจากการพิมพ์ชื่อโดเมนหนึ่งแต่ระบบกลับนำไปยังเว็บไซต์ชื่ออื่น

การตั้งชื่อโดเมนเนม อย่าคิดน้อยและอย่าคิดเยอะ มันก็เหมือนกับการตั้งชื่อคน มันจะอยู่ไปอีกนานและการจดใหม่ก็ไม่ใช่เรื่องสนุก และ Google จะจดจำความน่าเชื่อถือของ ถ้าคุณคิดไม่ออกจะสรุปง่ายๆ ลอง ทำ 3 ข้อนี้อาจจะช่วยคุณได้


1. ลองเขียนลิสต์ชื่อที่ชอบใส่กระดาษแปะไว้ให้เห็นทุกวัน ถ้า 5 วันผ่านไปยังชอบอันไหนอยู่ แสดงว่าอันนั้นอาจจะใช่สำหรับคุณ
2. การตั้งชื่อควรสั้นและจดจำได้ง่าย ด้วยการใช้คำ 2 คำหรือ 2 พยางค์ สังเกตเว็บดัง เช่น Paypal, ebay, google, yahoo, facebook ฯลฯ
3. ควรมีคีย์เวิร์ดที่สามารถค้นหาได้ง่าย

ปัจจุบัน นามสกุลโดเมนเนม มีอยู่จำนวนมาก หลายร้อยนามสกุล แต่นามสกุลที่ยังได้รับความนิยมสูงอยู่ยังหนีไม่พ้น .COM .NET .ORG .INFO .BIZ … ด้วยความที่เป็นนามสกุลที่มีมาก่อน และกับผู้ใช้มีความเคยชิน และเป็นที่รู้จักอย่างดี รวมถึงมีจำนวนโดเมนเนม ที่จดทะเบียนภายใต้นามสกุลดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ชื่อโดเมนที่มีความหมาย หรือ ชื่อโดเมนที่สั้นจำง่าย มีมูลค้าสูง และหาจดทะเบียนได้ยากในปัจจุบัน ทางไอเรียลลี่โฮส จึงได้เขียน บทความแนะนำนี้ขึ้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งเพื่อแนะนำ ให้ความรู้ สำหรับผู้ต้องการ จดชื่อโดเมนเนมสักชื่อ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

การแบ่งประเภทโดเมนเนม (อย่างง่าย)

การตั้งชื่อโดเมนเนม
  • แบ่งตามประเภท และความหมาย ของนามสกุล

.asia หมายถึง โดเมนหรือเว็บไซต์ ในแทบเอเชีย

.edu โดเมนสำหรับทางสถาบันการศึกษา

  • แบ่งตามประเทศ

.TH หมายถึง โดเมนเนม ในประเทศไทย

แต่ทั้งนี้โดเมนเนมทุกนามสกุล ก็สามารถจดทะเบียน และใช้งานได้ทั่วโลก และสามารถใช้งานนามสกุลโดเมนเนม ตรงตามประเภทเว็บไซต์ หรือ ไม่ตรงตามประเภทก็ได้ แต่จะมีเพียงบางนามสกุลเท่านั้น ที่มีนโยบายการขอจดทะเบียนอย่างเข้มงวด เช่น .CO.TH จดทะเบียนได้เฉพาะนิติบุคคลในประเทศไทย และชื่อที่จดทะเบียนต้องตรงกับชื่อนิติบุคคล หรือชื่อเครื่องหมาย การค้าที่จดทะเบียนเท่านั้น เป็นต้น

การพิจารณา การตั้งชื่อโดเมนเนม ( Domain name ) ที่จะจดทะเบียนใหม่

การตั้งชื่อโดเมนเนม

ชื่อโดเมน ควรเป็นชื่อที่สั้น มีจำนวนพยางค์แต่น้อย เพื่อให้ผู้พบเห็นจดจำได้ง่าย
ชื่อโดเมน ควรเป็นชื่อ ที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับเนื้อหาเว็บไซต์ (หรือไม่ก็ได้)
ชื่อโดเมน สามารถเลือกคำที่เกี่ยวข้อง ผสมกันได้
ชื่อโดเมน เราสามารถคิด แต่งชื่อได้อย่างอิสระเสรี


ข้อควรหลีกเลี่ยงการตั้งชื่อโดเมน

การเลือกตั้งชื่อโดเมน ที่ผู้อื่น จดจำได้ยาก
ชื่อโดเมน ที่มีเครื่องหมายการค้า ของผู้อื่นอยู่ในชื่อ

สรุป : การตั้งชื่อโดเมนเนม ก็เหมือนกับ การบอกที่อยู่ ให้กับผู้อื่นได้ทราบ ควรเป็นสิ่งที่จดจำง่าย หรือ มีความหมาย หรือ เป็นชื่อที่น่าจดจำ ชื่อโดเมนจะไม่สามารถจดซ้ำกับผู้อื่นได้ จนกว่าชื่อโดเมนนั้นๆ จะหมดอายุ หรือ มีสถานะว่าง

ข้อแนะนำ : ปัจจุบันชื่อโดเมน บางชื่อมีมูลค้า ตั้งแต่หลักร้อย ถึง หลายล้าน หรือ หลายหมื่นล้าน นอกจากการเลือกผู้ให้บริการ จดโดเมนที่มีความน่าเชื่อถือแล้ว เจ้าของผู้ยื่นจดทะเบียน ควรตรวจสอบสิทธิความเป็นผู้ถือครองโดเมน จากข้อมูล Whois ในโดเมน โดยเฉพาะ ชื่อ-นามสกุล และอีเมล์ ซึ่งในเชิงนโยบาย ถือเป็นข้อมูลที่แสดงความเป็นผู้ครอบครองโดเมนเนม และสามารถใช้อ้างอิงสิทธิได้ตามกฎหมายในระดับสากล

เป็นอย่างไรกันบ้างกับเคล็ดลับเล็กๆน้อยๆกับ การตั้งชื่อโดเมนเนม หากสนใจเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการตลาดออนไลน์ คลิ๊ก >> รับทำการตลาด

ติดตาม : การตลาดออนไลน์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *